ประเทศอาเซียน

ประเทศอาเซียน
สนใจโปรแกรมเที่ยวอินโดจีน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม

ประเทศอาเซียน

ประเทศอาเซียน
สนใจโปรแกรมเที่ยวอินโดจีน กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ไทย - เวียดนาม

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับเวียดนาม




1.ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป

- ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2519 และเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และ 2535 ตามลำดับ  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอยประกอบด้วยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้า ไทยในต่างประเทศ ส่วนสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ประกอบด้วยฝ่ายการพาณิชย์ และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย - เวียดนามในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดีมากไม่มีปัญหาสำคัญค้างคา มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง มีการไปมาหาสู่ระหว่างกันเพิ่มขึ้น รวมถึงในระดับท้องถิ่นจากการที่มีเส้นทางเชื่อมโยงถึงกันค่อนข้างสะดวกong

- เมื่อพิจารณาจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ สถานะทางการเมือง ขนาดของประเทศ ขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของเวียดนาม เจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มั่นคงและความเข้าใจอันดีกับไทยเพื่อ เสริมสร้างเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว การพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย  - เวียดนามตลอดระยะที่ผ่านมาจึงมีลักษณะของการพัฒนา ความร่วมมือบนผลประโยชน์ร่วมกันในเชิง "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

2.ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคง

- ไทยและเวียดนามมีการวางกรอบความร่วมมือทวิภาคีหลายด้านในระดับต่าง ๆ  เช่น ในระดับสูงสุดมีกรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนามอย่างไม่เป็นทาง การ (Joint Cabinet Retreat: JCR) ระดับรองลงมามีกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism: JCM) ซึ่งเป็นกลไกการหารือระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ดูแลกรอบความสัมพันธ์และประสานความร่วมมือในภาพรวม

<- ประเด็นด้านความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและเวียดนามอยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (Joint Working Group on Political and Security Cooperation: JWG on PSC) ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธานฝ่ายไทย ปัจจุบัน ไทยและเวียดนามตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อ รับมือกับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นในอนุภูมิภาค โดยมีแผนงานความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง “Thailand-Vietnam Joint Plan of Action on Political and Security Cooperation (2008-2010)” กำหนดกรอบความร่วมมือ

- สำหรับด้านการทหาร มีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการลาดตระเวนร่วมระหว่างกองทัพเรือไทย-กองทัพเรือ เวียดนาม รวมทั้งมีการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-เวียดนามว่าด้วยการจัดระเบียบทางทะเล อย่างสม่ำเสมอ

3. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

3.1 การค้า
ไทย เป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 ของเวียดนาม ในปี 2552 วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลให้มูลค่าการค้าไทย-เวียดนามลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551 มูลค่าการค้ารวม 6,463.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 3,310.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนเวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 ของไทย(โดย เป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปเวียดนาม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปูนซิเมนต์  ส่วนสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใย เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง เคมีภัณฑ์ กาแฟ ชา และเครื่องเทศ

3.2 การลงทุน
ใน ปี 2552 ไทยลงทุนในเวียดนามสูงเป็นอันดับที่ 10 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด มีโครงการต่าง ๆ รวม 216 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 5,749.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แหล่งใหญ่ที่สุดในเวียดนามที่เอกชนไทยไปลงทุน คือ นครโฮจิมินห์และจังหวัดข้างเคียง เช่น จังหวัดด่องไน (Dong Nai) จังหวัดบิ่นห์เซือง (Binh Duong) ในสาขาสำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว โรงแรม การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์
โดย ร้อยละ 67 ของการลงทุนของไทยในเวียดนามมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ และมีบริษัทไทยที่สำคัญ ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ลงทุนด้านอาหารสัตว์ เครือซีเมนต์ไทยลงทุนในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มอมตะลงทุนพัฒนาเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น

3.3 การท่องเที่ยว
ทั้ง สองประเทศมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2537 และมีความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทาง ธรรมดา ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 โดยสถิติเมื่อสิ้นปี 2551 นักท่องเที่ยวสัญชาติเวียดนามได้มาไทย 3.3 แสนคน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปเวียดนามมีจำนวน 1.8 แสนคน ทั้งนี้ ประมาณร้อยละ 50 ของจำนวนนี้ (ทั้งสองฝ่าย) เดินทางทางบกผ่านเส้นทางหมายเลข 9

4. ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและวิชาการ

- ไทยและเวียดนามลงนามในความตกลงด้านวัฒนธรรมเมื่อปี 2539 และเมื่อพิจารณาถึงสถานะความสัมพันธ์ที่ดี ระดับการพัฒนาที่ไม่ห่างกันมาก และความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จึงถือได้ว่าเวียดนามมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในด้านวัฒนธรรมค่อนข้าง มาก นอกจากนั้น ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามยังสามารถเป็นพลังสำคัญ ในการผลักดันความร่วมมือด้านนี้ด้วยอีกทางหนึ่ง

- ไทยให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่เวียดนามตั้งแต่ปี 2535 (ค.ศ. 1982) ผ่านกรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย-เวียดนาม ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ปัจจุบัน มีการแลกเปลี่ยนการสอนภาษาโดยมีการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย 5 แห่งของเวียดนาม (ที่กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ และนครดานัง) และสถาบันการศึกษาของไทยหลายแห่งก็เปิดการสอนภาษาเวียดนาม

- เวียดนามยังให้ความสนใจในการพัฒนาหมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนาม ที่บ้านนาจอก ตำบล หนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นสถานที่ที่อดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์เคยพำนักในช่วงกอบกู้เอกราช เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และเวียดนามยังได้สนับสนุนงบประมาณ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2549 สร้างโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามที่จังหวัดนครพนม (หรือที่เรียกว่า “ศูนย์มิตรภาพนครพนม-ฮานอย”) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-เวียดนาม โดยจังหวัดนครพนมได้ทำพิธีเปิดศูนย์มิตรภาพฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551

- ศาสนาเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ชาวไทยและชาวเวียดนามมีความใกล้ชิดและ ความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีชาวเวียดนามเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้นที่นับถือศาสนาพุทธ (นิกายมหายาน) นับตั้งแต่ปี 2547 ประเทศไทยได้นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายที่เวียดนามเป็นประจำทุกปี ในปี 2552 ไทยจัดผ้าพระกฐินไปทอดถวายที่วัดโฮ ฟ๊าบ (Ho Phap) จังหวัดบาเรียวุงเต่า และในปี 2553 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอยจะจัดผ้าพระกฐินไปทอดถวายที่วัดตามบ่าว (Tam Bao) ซึ่งเป็นวัดพุทธนิกายเถรวาทแห่งเดียวในนครดานัง<

- กลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและกระชับความสัมพันธ์ภาคประชาชนระหว่างไทยและ เวียดนาม ได้แก่ สมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนามและสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ไทย ล่าสุดไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกันของสองสมาคมครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 11-13 มีนาคม 2553 ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งสมาคมมิตรภาพทั้งสองได้กำหนดกิจกรรมและโครงการร่วมกันสำหรับปี 2553 ด้วยแล้ว เช่น การแลกเปลี่ยนเยาวชนไทยกับเยาวชนเวียดนาม การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาเวียดนามในระดับมัธยมและอุดมศึกษา และการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการศึกษา และในชั้นนี้ สมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนามอยู่ระหว่าง การพิจารณาจัดกิจกรรมเข้าร่วมในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 1,000 ปีกรุงฮานอยในช่วงเดือนตุลาคม 2553


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaiembassy.org/hochiminh/th/relation (สถานเอกอครราชทูต ณ กรุงฮานอย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น