แขวงบอลิคำไซ นอกจากจะเป็นประตูสู่ลาวใต้แล้วยังเป็นแขวงที่มีความสำคัญทางด้านการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศลาว เพราะเป็นเมืองท่าด่านติดชายแดนสองประเทศ โดยทางด้านทิศตะวันตกริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณเมืองปากซัน จะตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายของประเทศไทยส่วนด้านตะวันออกบริเวณด่านแก้วเหนือจะติดด่านกอเตรียวของประเทศเวียดนาม การท่องเที่ยวแขวงบอลิคำไซจึงสามารถนั่งรถจากแขวงเวียงจันทน์ลัดเลาะลงมาตามถนนทางหลวงมายเลข 13 ใต้หรือจะใช้บริการเรือข้ามฟากไปเที่ยวก็นับเป็นเส้นทางที่สะดวกสบาย
แขวงบอลิคำไซ ตั้งอยู่ระหว่างแขวงเวียงจันทน์และแขวงคำม่วน นับเป็นประตูสู่ลาวตอนใต้ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันทางทิศตะวันตกและพื้นที่ราบลุ่มบริเวณริมแม่น้ำโขงโดยมีสายน้ำใสสะอาดสีเขียวจากแม่น้ำภายในเมืองปากซันของแขวงบอลิคำไซ ไหลออกมาบรรจบกับสายน้ำสีขุ่นของแม่น้ำโขง เกิดเป็นจุดชมวิว "น้ำสองสี" ที่สร้างชื่อเสียงทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักแขวงบอลิคำไซและเมืองปากซัน
เมืองสองน้ำแห่งนี้ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวโดดเด่นมากนักภายในตัวเมือง แต่เป็นเมืองศูนย์กลางของการค้าขาย การเดินทาง และที่ตั้งของกองทัพ นับเป็นเมืองเล็กๆ ที่คุณสามารถนั่งรถสามล้อชมเมือง ชมบรรยากาศได้อย่างดี และไม่ควรที่จะพลาดไปชม "น้ำสองสี" ที่บริเวณปากแม่น้ำซัน ห่างจากบริเวณตลาดใหม่ประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณนี้มีร้านอาหารริมน้ำสองสามร้าน ให้บริการเมนูประเภทปลาแม่น้ำโขงและแม่น้ำซัน คุณจึงอิ่มั้งท้องและบรรยากาศ
ส่วนที่พักบริเวณเมืองปากเซมีไม่มากนักส่วนใหญ่เป็นเพียงเกสต์เฮ้าส์เล็กๆสองสามแห่งเท่านั้น นักท่องเที่ยวคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางท่องเที่ยวแบบไป-กลับ หรือเที่ยวเมืองปากซันตั้งแต่เช้าและลัดเลาะลงใต้ไปพักที่เมืองท่าแขกมากกว่า
วัดพระบาทโพนสัน
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในเป็นที่ตั้งของพระธาตุเก่าแก่ โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ขึ้น 15 ค่ำของทุกๆปี ชาวลาวจะแห่กันมาทำบุญนมัสการพระธาตุและรอยพระพุทธบาทกันเป็นจำนวนมาก
ปากกะดิ่ง
เป็นชื่อเรียกของปากแม่น้ำกะดิ่งที่ไหลออกมาบรรจบกับแม่น้ำโขงแต่บริเวณไม่มีปรากฎการณ์น้ำสองสีเหมือนปากซันชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพจับปลา บริเวณปากกะดิ่งจึงมีร้านค้าและแผงขายปลาให้นักท่องเที่ยว แวะเวียนลงมาเลือกซื้อของและเลือกชิมปลารสชาติเยี่ยมกันเป็นประจำ
ล่องเรือชมสายน้ำกะดิ่งและน้ำตกวังพอง
แม่น้ำกะดิ่งเหมาะสำหรับนั่งเรือชมในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวเท่านั้น เพราะในช่วงฤดูฝนน้ำไหลหลากและอันตราย สายน้ำกะดิ่งเป็นสายน้ำขนาดใหญ่ที่ไหลมาจากประเทศเวียดนามไปออกสู่แม่น้ำโขง
หลักซาวและบ้านนาแป
หลักซาวตั้งอยู่ในเขตภูเขาหินปูน บริเวณหลักซาวจึงมีถ้ำหินปูนให้เที่ยวชมหลากหลายแห่ง ที่เข้าชมได้คือ ถ้ำเมืองคอน บ่อน้ำอุ่นในลำน้ำพาว
แขวงคำม่วนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแขวงสะหวันนะเขต อยู่ทางทิศใต้ของประเทศเวียดนาม และอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมทางทิศตะวันออกโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรหมแดนธรรมชาติขวางกั้น ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆมากมายตอนกลางของแขวงเป็นเทือกเขามีภูเขาสูงสุดชื่อ ภูผาเป็ดสูงราว 1,558 ฟุต มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำมูน แม่น้ำเทือนหรือกระดิ่ง แม่น้ำหินบูน แม่น้ำเซบั้งไฟ และแม่น้ำเซบั้งน้อย แขวงคำม่วนแบ่งการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ มีประชากรทั้งหมดจำนวน 111,971 คน ส่วนใหญ่เป็นลาว พวน ผู้ไท กะโซ้ แสก ย้อ และญวน
แขวงคำม่วน นับเป็นแขวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ลาว ในอดีตราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 แขวงแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฟูนันและเจนละโดยได้เรียกขานเมืองแห่งนี้ว่า "ศรีโคตรบูร" ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสยกทัพมายังเมืองศรีโคตรบูรในปี พ.ศ. 1910 เมืองศรีโคตรบูรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "ท่าแขก" ด้วยเหตุนี้ภายในเมืองท่าแขกคุณจึงพบตึกอาคารสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสหลายแห่ง
ปัจจุบันชื่อของท่าแขกได้เป็นเพียงชื่อของเมืองหลวงเท่านั้น โดยรัฐบาลลาวได้เปลี่ยนชื่อแขวงเสียใหม่ให้เป็นคำม่วน เนื่องจากชื่อท่าแขกไม่สะท้อนถึงความเป็นชาติลาวได้ดีเพียงพอ แขวงคำม่วนตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ลงมาทิศใต้ 350 กิโลเมตร นับเป็นเมืองศูนย์กลางของการเดินทางและเป็นท่าด่านที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมเดินทางมาจากเวียงจันทน์แต่นิยมใช้บริการเรือข้ามฟากจากจังหวัดนครพนมมากกว่า
ตลาดหลักสอง
ตลาดหลักสองเป็นตลาดเก่าที่มีขนาดใหญ่ คุณสามารถหาซื้อของประเภทเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว สินค้าสด ของป่าหายาก รวมไปถึงร้านขายทองและเครื่องเงินหลากหลายรูปแบบ
ตลาดหลักสามหรือตลาดสุขสมบูรณ์
ห่างจากตลาดหลักสองประมาณ 2 กิโลเมตร แบ่งร้านค้าออกเป็นช่องๆอย่างเป็นระเบียบ ส่วนใหญ่จะเน้นขายของประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่า
วัดศรีโคตรบูร
เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุ ในช่วงงานเทศกรานต์สงกรานต์และปีใหม่ชาวบ้านจะจัดงานวัดอย่างยิ่งใหญ่บริเวณลานวัดและทำบุญเหมือนประเทศไทย
ถ้ำพระหรือถ้าผาช้าง
เป้นถ้ำที่ตั้งอยู่บนหน้าผาของภูเขา นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าขึ้นไป ภายในเป็นถ้ำขนาเล็กไม่ลึก เป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปมากมาย
ถ้ำนางแอ่น
ถ้ำนางแอ่นเป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาถ้ำของแขวงคำม่วน ภายในถ้ำเย็นสบายและมีทางเดินให้นักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี อีกทั้งยังติดตั้งไฟฟ้า นักท่องเที่ยวจึงเดินชมหินงอกหินย้อยได้อย่างปลอดภัย
สหันนะเขตเป็นเมืองหลวงของแขวง ชื่อตามทางการคือเมืองขันธบุรีมีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุดถึง 824,662 คน ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่ม ไทดำ กะเลิง กะตัง ลาเว้ ปาโก ส่วย เป็นแขวงที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสสป.ลาว รองจากเมืองหลวงกำแพงพระนครเวียงจันทน์ สะหวันนะเขตตั้งอยู่ห่างจากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน มาทางทิศใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของสาละวัน มีพรหมแดนติดกับเวียดนามทางด้านตะวันออก และอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย โดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรหมแดนธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์เมืองสะหวันนะเขตเริ่มในสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนี้มีชื่อว่าสุวันนะพูมประเทศ เป็นเมืองที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2120 ท้าวหลวงและนางสิมได้อพยพผู้คนจากภาคเหนือลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าหลวงโพนเมืองสิม ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับการไปพระธาตุอิงฮัง ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวสิมพะลีบุตรชายได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัวแยกออกไปตั้งเมืองใหม่ในเขตสะหวันนะเขตเรียกกันว่า บ้านท่าแร่ เพราะอุดมด้วยแร่ธาตุและทองคำจนถึงปี พ.ศ. 2462 เมื่อลาวตกเป็นประเทศอาณานิคม ฝรั่งเศสก็ได้ตั้งสำนักงานผุ้ว่าราชการแผ่นดินประจำแขวงที่ท่าแร่ และตั้งชื่อใหม่เป็นสะหวันนะเขต
ตลาดสิงคโปร์
บรรยากาศของตลาดนี้ก็คล้ายกับตลาดของบ้านเรา มีอาหารสด ขนมท้องถิ่น ผลไม้และอาหารสำเร็จรูป ให้เลือกชิมและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากประเทศจีน
วัดชัยสมบูรณ์
เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของแขวงนี้ตั้งอยู่ริมน้ำโขง
วัดเจ้า
เป็นศาลขนาดกลางตั้งอยู่ริมน้ำโขง ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าได้มาทำบุญ สักการะที่ศาลเจ้าแห่งนี้แล้ว จะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
อนุสาวรีย์ท่านกุรวงศ์
เป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหมคณะรัฐบาลฝ่ายขวา สร้างขึ้นหลังจากที่ท่านถูกลอบสังหาร
โบสถ์เซนต์เทเรซ่า
อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท่านกุรวงศ์ประมาณ 1 กิโลเมตร โบสถ์แห่งนี้นับเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางใจให้กับผู้คนในชุมชนเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก
ถนนสีเมือง
ในอดีตถนนสายนี้ถือเป็นถนนสายเศรฐกิจ เพราะเป็นถนนที่มีร้านค้าตั้งอยู่ตลอดทั้งสาย
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในสะหวันนะเขต แสดงร่องรอยการปรากฎของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
พิพิธภัฑณ์แขวงสะหวันนะเขต
พิพิธภัฑณ์ตั้งอยู่ในตัวตึกสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ภายในอาคารมีเรื่องราวและเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามปลดปล่อยและสงครามอินโดจีน
วัดรัตนรังษี
จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ หน้าต่างที่กรุกระจกรอบพระอุโบสถและศาลาลองธรรมที่สวยงาม
พระธาตุอิงฮัง
พระธาตุอิงฮังเป็นพระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนมของประเทศไทย ทุกปีชาวลาวจะมีงานนมัสการพระธาตุอิงฮังเป็นงานยิ่งใหญ่
ปราสาทเรือนหิน
ปราสาทเรือนหินเป็นซากปราสาทขอมเก่าแก่อายุกว่าพันปี อยู่ในเมืองไชยภูทอง
พระธาตุโพน
พระธาตุโพนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองไชยภูทอง
ป่าสงวนภูช้างแห
เป็นผู้จัดนำเที่ยวบริเวณนี้เพียงรายเดียวด้วยรูปแบบผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
เซโปน
เป็นเครื่องยืนยันทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างโหดเหี้ยมตลอดเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก
สาละวันเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของลาวใต้ แม้จะเป็นเมองขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ใจกลางของป่าทึบและภูเขาสูง แต่ก็จัดว่าเป็นเมืองที่อุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมีที่ราบอยู่ริมแม่น้ำโขง ทิศเหนือติดต่อกับสะหวันนะเขต ทิศใต้ติดต่อกับปากเซแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือ ส่วนทางทิศตะวันออกมีภูเขาอันเป็นกำแพงธรรมชาติกั้นพรหมแดนที่ติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกตรงข้ามกับจังหวัดอุบลราชธานี
แขวงสาสะวันมีประชากรจำนวน 260,000 คน เชื้อชาติมอญ-เขมร หลากชนเผ่าทั้ง ตะโอย ละไว กะตัง อาลัก ละเวน งาย ตง ปากอ คะไน กะตูและกะโด
สาละวันแต่เดิมชื่อเมืองมำ เป็นเมืองชายแดนของอดีตอาณาจักรจำปาสัก ได้รับผลกระทบเสียหายร้ายแรงและบอบช้ำมากในสมัยสงครามอินโดจีน และจากการสู้รบระหว่างฝ่ายซ้าายและฝ่ายขวาในลาว สาละวันเป็น 1 ใน 4 แขวงแห่งที่ราบสูงบอละเวน พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงอุดมด้วยป่าไม้และธรรมชาติที่สมบูรณ์ เต้มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวิถีชีวิตหลากชนเผ่าให้เที่ยวชม
สวนอุทยานแห่งชาติเชียงทอง
สวนอุทยานแห่งชาติเชียงทอง นับเป็นสวนป่าไม้ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 995 ตารางกิโลเมตรทางตะวันตกของแขวง เป็นแหล่งธรรมชาติและต้นน้ำลำธารที่สำคัญของสาละวัน
น้ำตกเซเซด
น้ำตกเซเซดเป็นต้นน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำเซเซด และเป็นสาขาเล็กของแม่น้ำเซโดน แม่น้ำหลักที่ไหลผ่านแขวงสาละวัน
น้ำตกตาดเลาะ
ตาดเลาะเป็นน้ำตกที่เกิดจากสายน้ำเซเซดไหลลัดเลาะผ่านหมู่บ้านลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างชาวบ้านจึงเรียกน้ำตกแห่งนี้ว่าตาดเลาะ นับเป็นน้ำตกสายหนึ่งที่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในลาว
บึงจระเข้
การเข้าถึงค่อนข้างลำบาก ต้องเหมารถกระบะ 4WD ของชาวบ้านเข้าไปเพราะเส้นทางลำบากมาก มีจระเข้พันธุ์สยามอาศัยอยู่ชุกชม เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามธรรมชาติของจระเข้
หมู่บ้านกะตัง
หมู่บ้านกะตังเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเผ่ากะตังที่พักอาศัยอยู่รวมกันกว่า 30 ครอบครัว ในเขตบ้านหลังยาวประมาณ 100 เมตร ชนเผ่านี้มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้า เป็นผ้าหน้าแคบแต่มีสีสันงดงามมาก นักท่องเที่ยวสามารถใช้ชีวิตอยู่แบบโฮมสเตย์ ศึกษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของชาวลาวปละชาวเผ่าต่างๆ
หมู่บ้านตะโอย
นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเขาเผ่าตะโอยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาลึก 300-1,000 เมตร ราว 26,000 คน ชาวเผ่าที่นี่คงขนบธรรมเนียมและวิถีชีวิตประเพณีลาวพื้นเมืองดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น
ที่ราบสูงบอละเวน
ที่อยู่ของชาวละเวน เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดในบริเวณนี้ มีเชื้อสายมาจากมอญ-เขมร ที่ราบสูงบอละเวนมีความสูงโดยเฉลี่ย 1,200 เมตร อากาศอบอุ่นสบาย เหมาะกับการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และพันธุ์โรบัสต้าที่ฝรั่งเศสนำเข้ามาปลูก
แขวงจำปาสักมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดชายแดนประเทศไทยทางด่านช่องเม็ก อำเภอสิริธร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ติดต่อกับเขตจังหวัดกัมปงทมของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 15,415 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเมืองต่างๆคือ เมืองปากเซ ชนะสมบูรณ์ ปากช่อง ประทุมพร สุขุมา จำปาสัก โพนทอง เมืองโขง มุลละปาโมก และบาเจียงเจริญสุข โดยมีเมืองปากเซเป็นเมืองหลวงของแขวงจำปาสัก
เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือนกับเมืองจำปาสัก แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ราว 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนนและชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยตั้งรกรากทำมาหากินอยู่เป็นจำนวนมาก บรรยากาศโดยทั่วไปในเมืองปากเซ เงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย
วังเจ้าบุญอุ้ม
พระราชวังเจ้าบุญอุ้มแห่งนี้ ทางรัฐบาลลาวใช้เป็นที่จัดประชุมพรรคและเป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมืองมาจนถึง พ.ศ. 2538 ปัจจุบันพระราชวังเจ้าบุญอุ้มได้รับการตกแต่งใหม่แล้วเปิดเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในเมืองปากเซชื่อว่าโรงแรมจำปาสัก พาเลซ
วัดถ้ำไฟ
วัดถ้ำไฟหรือชาวบ้านเรียกว่าวัดพระพุทธบาท เนื่องจากภายในอุโบสถมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ถัดมาทางซ้ายเป็นหอแจก ลักษณะเป็นอาคารทรงโรง หลังคาลาดต่ำ ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา จุดเด่นอยู่ที่สิมตรงกลางหลังคารูปช้าง 3 เศียร ซึ่งหมายถึงอาณาจักรทั้ง 3 ของลาว ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาสัก
ตลาดเก่า
ตลาดเก่าจะตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง ชาวบ้านจะนำสินค้าพวกผ้าทอพื้นเมือง เครื่องอุปโภค บริโภคตลอดจนผักผลไม้มาวางขาย ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย
วัดหลวง
เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญในเมืองปากเซ เพราะเป็นสถานที่เก็บอัฐิของราชวงค์สายจำปาสักหลายพระองค์ จุดเด่นน่าจะอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างของอุโบสถ แกะสลักด้วยไม้ลวดลายสวยงาม ถัดมาทางขวาของพระอุโบสถเป็นอาคารเก่าแก่
ตาดฟาน
ตาดฟานเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกดงหัวสาว จุดเด่นอยู่ตรงสายน้ำ 2 สายไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 เมตร โดยสายน้ำทางซ้ายมือไหลมาจากห้วยผักกูด และทางขวามือเป็นสายน้ำที่ไหลมาจากเขตอุทยานแห่งชาติดงหัวสาว มีจุดชมวิวตัวน้ำตกในมุมสูงได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของน้ำตกแห่งนี้สามารถเดินลงไปชมตัวน้ำตกบริเวณด้านล่างได้
ตาดเยื้อง
ตาดเยื้องเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองปากซอง คำว่าเยื้องแปลว่าเลียงผา ส่วนฟานแปลว่าเก้ง แม้จะเป็นน้ำตกขนาดกลางไม่สูงใหญ่เท่าตาดฟานก็ตาม แต่มีข้อดีกว่าคือคุณสามารถเข้าไปชมได้ใกล้ชิดถึงตัวน้ำตก จุดเด่นน่าชมอยู่ที่สายน้ำสีขาวที่ไหลอาบมาตามหน้าผากระทบโขนหินแตกเป็นละอองสีขาวตัดกับสีดำเข้มของโขดหิน ท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่นและเป็นส่วนตัว
ตาดผาส้วม
ตาดผาส้วมแค่ชื่อก็อาจฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับคนไทยเท่าไหร่นัก แต่จริงๆแล้วคำว่า ส้วม ของลาวหมายถึง ห้องนอนที่กั้นไว้สำหรับลูกสาวลูกเขยโดยเฉพาะส่วนตาดแปลว่าลานหินที่เป็นชั้นๆ จุดเด่นของน้ำตกผาส้วม คือสายน้ำที่ไหลผ่านหินผาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นแท่งๆรูปร่างคล้ายห้องหอของคู่บ่าวสาวดูสวยงามมาก
ปราสาทวัดภู
สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่านมสาว
เขตสี่พันดอน เป็นเขตที่อยู่ในแขวงจำปาสัก มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ดังนี้
ดอนโขง
ดอนโขงเป็นดอนที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง ส่วนกว้างที่สุดวัดได้ 6 กิโลเมตร ยาว 12 กิโลเมตร มีถนนรอบเกาะระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นบ้านเกิดของท่านคำไต สีพนดอน อดีตประธานประเทศลาว นับว่าเป็บเมืองขนาดใหญ่ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งไฟฟ้า น้ำปะปา มีโรงแรมและเกสต์เอาส์เปิดให้บริการ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติไปพักผ่อนตากอากาศจำนวนมาก
ดอนคอน
ดอนคอนเป็นดอนขนาดรองลงมา มีความกว้าง 4.5 กิโลเมตร ความยาว 5 กิโลเมตร เป็นดอนที่ทอดตัวตามยาวไปตามแม่น้ำโขง ในสมัยฝรั่งเศสยึดครองอินโดจีนได้ก่อสร้างท่าเรือและทางรถไฟขึ้นที่ดอนคอน
น้ำตกหลี่ผี ( ตาดสมพะมิด )
น้ำตกหลี่ผีตั้งอยู่ในเขตดอนคอน ช่วงที่เหมาะแก่การเที่ยวชมคือเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพราะคุณจะเห็นสายน้ำจำนวนมากในแก่งหลี่ผีที่ไหลถาโถมผ่านเนินหินโขดหินลงมาด้วยกำลังแรงแตกเป็นละอองสีขาวไปทั่วแก่งดูสวยงามตื่นตามาก
ดอนเด็ด
ดอนเด็ดเป็นเกาะเล็กๆทางตอนเหนือของดอนคอน มีเรือหางยาวลำเล็กให้บริการล่องขึ้นลงตามร่องน้ำแคบๆระหว่างสองเกาะนี้ แม้ว่าบนดอนเด็ดจะไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเหมือนดอนคอน แต่บรรยากาศที่เงียบสงบ วิถีชาวบ้านริมฝั่งน้ำอันเรียบง่าย ตลอดจนความร่มรื่นของทิวมะพร้าว ก็ช่วยทำให้ดอนเล็กๆแห่งนี้เป็นเมืองตากอากาศน้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน
น้ำตกคอนพะเพ็ง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในเขตแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่างระดับกันสูงประมาณ 10 เมตร ซึ่งแม้จะมีชั้นของหินไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำที่ไหลถาโถมลงมามีความรุนแรงมาก
เวินคาม
เวินคาม เมืองชายแดนทางตอนใต้ของลาว เป็นรอยต่อระหว่างชายแดนลาวและกัมพูชา ภายในเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเล็กๆ มีร้านขายอาหาร ของชำ เสื้อผ้า มีท่าเรือข้ามฟากจากลาวไปยังเมืองสตรึงเตรงของกัมพูชา
เซกองเป็นเมืองที่สร้างขึ้นใหม่หลังสมัยสงคราม จึงมีทหารปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไปเป็นแขวงที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ประมาณ 85,000 คนไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรลาวทั้งประเทศ มีชนเผ่าอาศัยกระจายอยู่ทั่วเมือง ทั้งเผ่ากะตู ตะเวียง แงะ ตะโอย ละแว ละเวน อาลักและย่าเฮิน
เซกองอาจดูเป็นเมืองเงียบเหงา ผู้คนไม่พลุกพล่านถ้าเทียบกับเมืองท่องเที่ยวอย่างจำปาสัก แต่กลับมีพาหนะในการสัญจรค่อนข้างมาก เพราะแต่ละเมืองอยู่ห่างไกลกัน และมีชาวเผ่าตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วพื้นที่ของเซกอง ทำให้มีการกระจัดกระจายของผู้คน ไม่มีศูนย์รวมของผู้คนชัดเจน แม้ตลาดจะเป็นจุดใหญ่ มี่ทั้งท่ารถและมีสิ่งของมากมายตลอดสายของถนนแต่บรรยากาศก็เรียบง่ายไม่คึกคัก ผู้คนมีความเชือและทัศนคติเฉพาะเผ่าพันธ์ุของตนเอง ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนต้องปรับตัวตามตวามแตกต่างทางวัฒนธรรม
น้ำตกเซกะตาม
น้ำตกเซกะตามมีทางขึ้นเพียงทางเดียว ทางลงไปหาตัวน้ำตกนั้นลำบากและอันตรายมาก ยังไม่มีการเปิดให้เดินอย่างเป็นทางการ ตัวน้ำตกอยู่ฝั่งตรงข้ามกับจุดชมวิว
น้ำตกหมอกจันทน์
น้ำตกหมอกจันทน์เป็นน้ำตกที่ไหลจากน้ำตกเซกะตาม มองไกลๆแล้วคล้ายน้ำตกเซกะตาม แต่ด้วยขนาดและความสูงที่ต่างกันมากจึงเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่าเซกะตามน้อย และเป็นเพียงจุดผ่านของนักท่องเที่ยวเท่านั้น
หมู่บ้านชาวเผ่าอาลัก
หมู่บ้านชาวเผ่าอาลักเป็นเผ่าที่มีฝีมือในการทอผ้าลายลูกปัดสวยงาม นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมแวะมาเยี่ยมชมและเลือกซื้อเป็นของที่ระลึกกลับไปนอกจากนี้งานผ้าของชาวเผ่าอาลักยังเป็นหนึ่งในกลุ่มผ้าทอสวยงามที่ส่งไปขายที่เวียงจันทน์ด้วย
หมู่บ้านชาวเผ่าย่าเฮิน
ชาวเผ่าย่าเฮินมีความเป็นชนบทสูงมาก ยังคงใช้ชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่น ตัดไม้ขาย หาสัตว์ป่าโดยเฉพาะกระรอก กระแตและนก รวมไปถึงการปลูกพิชผัก เมื่อนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาที่นี่ จะเห็นห้องเรียนเป็นบ้านเพิงไม้หลังเล็กมีกระดานและโต๊ะนักเรียน 1 ห้องให้เด็กชาวเผ่าได้เรียนหนังสือ มีเครื่องตำข้าวที่ใช้แรงคนตำ ยุ้งเก็บข้าว และส้วมดินที่ชาวเผาขุดขึ้นมาเอง นับเป็นวิถีชีวิตที่หาดูได้ยากในสังคมเมือง
ภูหลวง
ภูธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ด้วยธารน้ำไหลและป่าเขาลำเนาไพรนี้ มีเส้นทางเดินเท้าและเดินรถเก่าแก่ที่ชาวฝรั่งเศสสร้างไว้ เป็นเส้นทางลัดจากอัตตะปือมาเซกองและข้ามไปชายแดนปากเซได้ เมื่อขึ้นไปภูแล้วมองลงมาจะเห็นทัผสนียภาพบางส่วนของเซกอง ส่วนทางทิศตะวันตกมองเห็นสวนกาแฟที่ชาวบ้านปลูกไว้บนที่ราบสูงบอละเวนสวยงามมาก
น้ำตกตาดแฝก
น้ำตกตาดแฝกเป็นภูผาหินยาวเกือบ 100 เมตร ช่วงฤดูฝนน้ำจะไหลค่อนข้างแรง สามารถเดินลงไปหาตัวน้ำตกได้ การเล่นน้ำควรเล่นบริเวณที่เป็นแแอ่งน้ำหรือด้านบนโขดหินเท่านั้น นอกจากนี้บริเวณน้ำตกยังมีเต้นท์พักแรมที่ศาลาชมวิว ให้คุณได้เก็บบรรยากาศยามค่ำคืนและยามเช้าของวันรุ่งขึ้นอีกด้วย
ศูนย์ศิลปาชีพแม่บ้าน
ศูนย์ศิลปาชีพแม่บ้านเป็นศูนย์รวมงานฝีมือของแม่บ้านแขวงเซกอง มีงานประดิษฐ์ลวดลายประณีตหลายชนิด แต่ที่เด่นที่สุดก็คือผ้าทอ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของแขวงและประเทศลาว
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของแขวงอัตตะปือเป็นป่าและภูเขา โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศเวียดนาม มีที่ราบส่วนน้อย การคมนาคมลำบากชาวบ้านส่วนใหญ่จึงอาศัยอยู่ตามภูเขาทั่วไป มีประชากรจำนวน 112,171 คน ประกอบด้วย ชาวไท เวียดนาม กัมพูชา ส่วย และข่า
มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงต่างๆและประเทศใกล้เคียงคือ ทิศเหนือติดต่อกับแขวงสาละวัน ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเวียดนาม ส่วนทิศตะวันตกติดต่อกับแขวงจำปาสัก
อัตตะปือมีเมืองหลวงคือสามัคคีชัย หรือเมืองใหม่ อดีตเมืองหลวงเก่าคือเมืองไชยเชษฐา สร้างขึ้ืนในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐา มีสัญลักษณ์ทางศาสนาแสดงความเป็นเมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง คือเมืองสามัคคีชัยมีวัดหลวงลัตตะมาลาม ( วัดหลวงใหม่ ) เป็นที่เคารพบูชาของคนเมืองสามัคคีชัย ส่วนเมืองไชยเชษฐา มีวัดหลวงเมืองเก่าวะราราม หรือวัดธาตุ ( วัดหลวงเมืองเก่า ) เป็นที่สักการบูชาของคนไชยเชษฐาเช่นกัน อย่างไรก็ดีชาวบ้านทั้ง 2 เมืองก็ไปมาหาสู่และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
วัดหลวงลัตตะมาลาม
วัดหลวงลัตตะมาลามหรือ วัดหลวงเมืองใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ภายในศาลาวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปและมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติ
สะพานเซกอง
สะพานเซกองเปิดให้ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีความยาว 279 เมตร ถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเมืองใหม่กับเมืองเก่าของแขวงอัตตะปือให้สัญจรไปมาหาสู่กันง่ายมากขึ้น เมื่อขึ้นมาถึงกลางสะพานจะเห็นแม่น้ำเซกองไหลลัดผ่านทิวเขาริมสองฝั่ง หมู่บ้านริมน้ำและแปลงผักของชาวบ้านได้อย่างสวยงาม
ตลาดใหญ่
ตลาดใหญ่เปรียบเป็นแหล่งศูนย์รวมการค้า เพราะมีข้าวของเครื่องใช้แบบครบครัน ชาวบ้านจะออกมาจับจ่ายใช้สอยกันตลอดวัน คุณสามารถหาทุกอย่างได้ที่นี่ จะเลือกซื้ออาหารไปปรุงเองหรือจะนั่งรับประทานอาหารท้องถิ่นลาวอย่าง เผอ ปอเปี๊ยะญวน ข้าวเหนียวหมูปิ้ง เนื้อปิ้ง ไก่ปิ้ง บาเกตต์ วาลาเปาทอด โรตี รวมไปถึงกาแฟให้เลือกลิ้มรสได้ตามใจชอบ
วัดฟางแตง
ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระหลวงองค์ใหญ่ จุดเด่นน่าชมอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่โบราณรอบผนังอุโบสถ และงานปฎิมากรรมปูนปั้นสีทอง ศิลปะแบบมอญ ขอม สวยงามมาก
วัดหลวงเมืองเก่าวะราราม
วัดหลวงเมืองเก่าเป็นวัดแรกบนแขวงอัตตะปือที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาก่อนวัดฟางแตง บริเวณโดยรอบยังคงสภาพเดิมไว้ทุกอย่าง ทั้งตัวอุโบสถที่เป็นตึกคอรกรีตก่ออิฐสีเทา ยังคงใช้เป็นที่ศึกษาธรรมของพระที่นี่อยู่เรื่อยมา ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป
แหล่งที่มา
หนังสือ Trips Magazine
วิกีพิเดีย
สามารถติดต่อได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น