ประวัติศาสตร์เวียดนาม
รูปภาพกองกำลังเวียดมินห์ยึด เดียน เบียน ฟู จากฝรั่งเศส ปี 1954
(ที่มา : ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ บรรณาธิการ. เวียดนาม.)
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉ
พาะอารยธรรมยุคหินใหม่
ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา
ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง
สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้
ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง
มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง
แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์ เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง
จากนั้นไม่นาน จักรพรรดิจิ๋นซี ซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว
โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด
ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน
หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระชื่อว่าหนานเยว่
หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน
ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ
ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน
และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ
เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้
พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น
-วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน
แต่ปราชัยในอีก 3
ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
-นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน
ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า
วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด
การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง
ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ
ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถางพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม
เมืองต้าหลอหรือฮานอย
เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย
พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้
ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม
ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้
-พ.ศ. 1498-1510 ราชวงศ์โง–หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน
นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง
ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต
อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
-พ.ศ. 1511-1523 ราชวงศ์ดิงห์–ขุนศึกดิงห์โบะหลิง
แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน
เปลียนชื่อประเทศเป็นไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า
และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง
เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ
หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
-พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก–มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง
ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์
สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง
โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฏภายใน
แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร
สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก
ราชวงศ์ยุคใหม่
-พ.ศ. 1552-1768
ราชวงศ์หลี–หลี กง
อ่วนมีอำนาจในราชสำนักฮวาลือ เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่
ทังลอง (ฮานอย) ทรงสร้างวัดขึ้น 150 แห่ง ในปี 1070 นำระบบการสอบจอหงวนมาใช้
ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวันเหมียว ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีขงจื้อ
เพื่อสอบเข้ารับราชการในระบบจอหงวน แต่ขุนนางยังมีจำนวนน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายผู้มีอิทธิพลในหัวเมือง
ต่อมาทรงพระนามว่า หลีไถโต๋
สมัยหลีเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองและสังคมมาก
ที่ปรึกษาราชการในบางสมัยเป็นพระสงฆ์
จักรพรรดิราชวงศ์หลีช่วงหลังสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง และสละราชสมบัติออกผนวช
เป็นสาเหตุให้การบริหารราชการเริ่มตกอยู่ในอำนาจของเครือญาติพระชายามาจากตระกูลที่มั่งคั่งในหัวเมือง
ผู้ปกครององค์สุดท้ายเป็นเด็กหญิงที่ได้รับการตั้งเป็นจักรพรรดินี
พระนามว่าหลีเจี่ยว
การบริหารราชการตกอยู่ในอำนาจของญาติวงศ์พระชนนีซึ่งเป็นขุนศึกมีกองกำลังทหารอยู่ในมือ
เช่นเจิ่นถูโดะ ซึ่งก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากราชวงศ์หลีในที่สุด
-พ.ศ. 1768-1943 ราชวงศ์เจิ่น–เจิ่นถูโดะญาติของพระชายาจักรพรรดิก่อรัฐประหาร
ยึดอำนาจท่ามกลางสถานการณ์กบฏและการรุกรานจากข้าศึกต่างชาติ
จากนั้นได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจียว ฮว่าง จักรพรรดินีองศ์สุดท้ายของราชวงศ์หลีแล้วยกหลานขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์เจิ่น
สมัยเจิ่นเวียดนามต้องเผชิญกับศึกสงครามโดยตลอด
ที่ร้ายแรงที่สุดคือการรุกรานจากพวกมองโกลและจัมปา
สมัยเจิ่นก็เริ่มให้ความสำคัญกับอารยธรรมจีนมากกว่ายุคก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านภูมิปัญญาและอักษรศาสตร์
รวมถึงการบริหารราชการแบบจีน ในสมัยนี้มีการประมวลพงศาวดารชาติเป็นครั้งแรก
ชื่อว่า ด่ายเหวียตสือกี๋หรือ บันทึกประวัติศาสตร์มหาอาณาจักรเวียด โดยราชบัณฑิต
เลวันฮึวนอกจากนี้ยังเริ่มมีการประดิษฐ์อักษรของเวียดนามที่เรียกว่า อักษรโนม
ขึ้นเป็นครั้งแรก
-พ.ศ. 1943-1971 ราชวงศ์โห่–โห่กุ๊ยลี
ญาติของพระชายาจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่น
สร้างฐานอำนาจของตนด้วยการเป็นแม่ทัพทำศึกกับพวกจามทางใต้
ต่อมาก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากจักรพรรดิราชวงศ์เจิ่นและพยายามกำจัดเชื้อสายราชวงศ์ที่หลงเหลืออยู่
จากนั้นขึ้นครองราชย์ ตั้งทายาทของตนเป็นจักรพรรดิต่อมา ราชนิกูลราชวงศ์เจิ่นได้ขอความช่วยเหลือไปยังจีน
ทำให้จีนส่งกองทัพเข้ามาล้มล้างราชวงศ์โห่
แต่สุดท้ายก็ไม่มอบอำนาจให้แก่ราชวงศ์เจิ่น และยึดครองเวียดนามแทนที่
-การกู้เอกราชและก่อตั้ง ราชวงศ์เล (ยุคหลัง) พ.ศ. 1971-2331 เล่เหล่ย
ชาวเมืองแทงหวา ทางใต้ของฮานอย ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำเวียดนาม
ขับไล่จีนออกจากเวียดนามได้สำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 1971
เลเหล่ยขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สถาปนา ราชวงศ์เล ขึ้น
มีราชธานีที่ฮานอยหรือทังลองและราชธานีอีกแห่งคือที่เมืองแทงหวา (ทันห์ว้า) หรือ
ราชธานีตะวันตก ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของเลเหล่ยและตระกูลเล
ต่อมาเลเหล่ยได้รับการถวายพระนามว่า เลไถโต๋
ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน
โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง
ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร
รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้งหลังสมัยเลเหล่ย
เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน
ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก
จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002
มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น
ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน
ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040) รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์
เวียดนาม
มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม
ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี
จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า
นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว
อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา
หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์
ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071
เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรกราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง
ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136
จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป
ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้
หลังการฟื้นฟูราชวงศ์เลขึ้นได้
ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ
และให้ขุนศึกตระกูลเหวียนไปปกครองเขตชายแดนใต้บริเวณเมืองด่งเหยลงไปถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน
ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น เจ้าสืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ในตระกูลของตนเอง
ขุนศึกตระกูลเหวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี
เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนือ คือ เวียดนามเหนือ
อยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ คือ
เวียดนามใต้ มีตระกูลเหวียนปกครอง มีศุนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้ในปัจจุบัน
ยุคเตยเซิน
พ.ศ. 2316
เกิดกบฏนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง
เขตปกครองของตระกูลเหวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ องค์ชายเหงวียนแอ๋ง
เชื้อสายตระกูลเหงวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพฯ
ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ)
ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในพ.ศ.
2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย
ราชวงศ์เหวียน (พ.ศ. 2345-2488)
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง
จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ
เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน
ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย
ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน
นายช่างฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้และป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง
จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม
ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก
ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก
มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4
คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป
จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ.
2401 เรือรบฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน)
ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด
จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส
ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพที่เหนือกว่าได้
ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน
คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนาม
ในตอนกลางและเขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ
และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศสและมีฐานะเป็นสัญลักษณ์
อำนาจในการบริหารการคลัง การทหารและการทูตเป็นของฝรั่งเศส
ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
ยุคอาณานิคม
ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ
เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา
ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส
ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส
และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม
ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม
ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ
ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ.
2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท
ยุคเอกราช
พ.ศ. 2488
โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช
แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม
นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู
ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ยอมรับเอกราชของเวียดนาม
แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์
ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม
(เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17
องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
สงครามเวียดนาม
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้
ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย
เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน
พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง)
ในการทำสงครามการรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจากต่างประเทศ
กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง
แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให่สงครามยุติลงได้
หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้
สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง
สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปีพ.ศ.
2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก วิพีกีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น