ประเทศพม่า
พม่า หรือ เมียนมา มีชื่อทางการว่า
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย
บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่
40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก
โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร
แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน
มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้
เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต
เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา
ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น
แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว
และไทยอีกด้วย
ภูมิศาสตร์
ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร
เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน)
และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก
การเมืองการปกครอง
ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร
ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC) โดยมีประธาน
SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก
เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง
แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน
อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้
ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้
มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย
เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากมอญ
จีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร
สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น
ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย
ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี
ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
ภาษา
นอกจากภาษาพม่า
ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
1.ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก
(สำเนียงมาตรฐานของภาษาว้า) และภาษาว้า
2.ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ
(กะฉิ่น) และภาษาอาข่า
3.ตระกูลภาษาไท-กะได
ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่
มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉานและรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง
และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
4.ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน
ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
5.ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน
ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี
ศาสนา ศาสนาพุทธ 93% ศาสนาคริสต์ 4% อื่น ๆ 3%
คมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ
ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง
ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถึงคุนหมิง
ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ
หงสาวดี-ตองอู-ปยินมะนา-เมะทีลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมูแจ้
รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481
การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ
นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก
และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต
เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย
และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด
ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด
สนใจโปรแกรมทัวร์พม่า และประเทศอื่นๆ
ได้ที่ : http://www.scholidaytour.com
แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น