ประเทศอาเซียน

ประเทศอาเซียน
สนใจโปรแกรมเที่ยวอินโดจีน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม

ประเทศอาเซียน

ประเทศอาเซียน
สนใจโปรแกรมเที่ยวอินโดจีน กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประเทศลาว

ประเทศลาว




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติ ศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และ วัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบก และทาง น้ำเป็นแนวยาวถึง 1,810 กิโลเมตร

      สปป.ลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land link) ด้านการคมนาคมขนส่งจากไทย ไปประเทศที่สามในอนุภูมิภาค ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวข้ามแม่น้ำโขงทั้ง 2 แห่ง ที่หนองคาย-เวียงจันทน์ และที่มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และในอนาคตอันใกล้จะมีสะพานแห่งที่ 3 ที่นครพนม-คำม่วน ซึ่งได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552







 ประชากร

จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีที่ผ่านมา ประเทศลาวมีประชากรทั้งหมดประมาณ 6,217,141 คน
( กรกฎาคม  2548) ประกอบด้วย 3 ชนชาติ ใหญ่รวม 68 เผ่า ได้แก่
ลาวลุ่ม: หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาว คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชาชนทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเนือ ไทแแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น
ลาวเทิง: เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ
ลาวสูง: คือพวกลาวชาวเขาประชากรส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง คิดเป็นประชากรร้อยละ 10 ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งและเผ่าอื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุ่ย เป็นต้น


ภูมิศาสตร์


แผนที่ประเทศลาว

ที่ตั้งและอาณาเขต

ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร

ประเทศไทยมีเส้นแบ่งเขตแดนติดต่อกับประเทศลาวถึง 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหารและอุบลราชธานี เชื่อมต่อ 8 แขวงของประเทศลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว แขวงไชยะบุรี แขวงเวียงจันทน์ แขวงอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
  1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
  2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
  3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่น ๆ ยังได้แก่
  • แม่น้ำอ( พงสาลี-หลวงพระบาง ) ยาว 448 กิโลเมตร
  • แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซบั้งเหียง (สุวรรณเขต) ยาว 338 กิโลเมตร
  • แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซกอง (สาระวัน-เซกอง-อัตปือ) ยาว 320 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สุวรรณเขต) ยาว 239 กิโลเมตร
  • แม่น้ำแบ่ง (อุดมไชย) ยาว 215 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซโดน (สาระวัน-จำปาศักดิ์) ยาว 192 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซละนอง (สุวรรณเขต) ยาว 115 กิโลเมตร
  • แม่น้ำกะดิ่ง (บริคำไชย) ยาว 103 กิโลเมตร
  • แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร


ลักษณะภูมิอากาศ

ประเทศลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300-2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3-6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70-85 ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10-25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ได้รับเพียงแค่ 100-150 เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันทน์และแขวงสุวรรณเขตในช่วง 150-200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
แม้ว่าลาวจะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบายมาเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงฤดูปลายฝนจนถึงฤดูร้อนนั้นเหมาะแก่การท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะฝนเริ่มน้อย แต่ก็ยังพอมีให้เที่ยวน้ำตกและล่องเรือได้ อากาศก็เย็นสบาย ธรรมชาติรอบด้านก็สวยงาม แถมยังมีประเพณีสำคัญน่าเที่ยวชมในช่วงนี้อีกมากมายด้วย

 การเมืองการปกครอง


ประธานประเทศนายจูมมาลี ไซยะสอน
รองประธานประเทศนายบุนยัง วอละจิด
ประธานสภาแห่งชาตินางปานี ยาท่อตู้
นายกรัฐมนตรีนายทองสิง ทำมะวง

 ประมุขของ สปป.ลาว คือประธานประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติโดยได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสภาที่เข้าประชุม ประธานประเทศมีอำนาจลงนามประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ แต่งตั้งหรือย้ายเจ้าแขวงตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และให้นิรโทษกรรม เป็นต้น

      รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดูแลเรื่องการป้องกันประเทศ การทำความตกลงกับต่างประเทศ เสนองบประมาณให้สภาแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ (ปีงบประมาณของสปป.ลาวเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม-30 กันยายนของปีถัดไป) รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานให้สภาแห่งชาติและประธานประเทศทราบ หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานประเทศ โดยผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ วาระของรัฐบาลเท่ากับวาระของสภาแห่งชาติ




การจัดตั้งและการบริหาร

  • หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น เมือง (ก่อนหน้านี้จัดให้หลายหมู่บ้านรวมกันเป็น ตาแสง มีตาแสงเป็นผู้ปกครอง หลายตาแสงรวมกันจึงเรียกว่า เมือง)
  • หลายเมืองรวมกันเป็น แขวง
  • "คณะกรรมการปกครองหมู่บ้าน" มี นายบ้าน เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารของหมู่บ้าน
  • "คณะกรรมการปกครองเมือง" มี เจ้าเมือง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารเมือง
  • "คณะกรรมการปกครองแขวง" มี เจ้าแขวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารแขวง
  • "คณะกรรมการปกครองนครหลวง" มี เจ้าครองนครหลวง เป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารนครหลวง

ข้อมูลเศรษฐกิจ

สกุลเงินกีบ อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อกุมภาพันธ์ 2554
ประมาณ 260 กีบ : 1 บาท 
GDP3.8 พันล้าน USD (ปี 2550) 
GDP per capita665 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550) 
ทรัพยากรสำคัญไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า 
อุตสาหกรรมหลักโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ 
สินค้าส่งออกที่สำคัญทองคำ ทองแดง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป 
ตลาดส่งออกที่สำคัญไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร 
สินค้านำเข้าที่สำคัญรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย 
สินค้าสำคัญที่ไทย
ส่งออกไปลาว
น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผ้าผืน 
สินค้าสำคัญที่ลาว
ส่งออกไปไทย
สินแร่โลหะและเศษโลหะ เชื้อเพลิง ไม้ซุง/ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ถ่านหิน ลวดและสายเคเบิล เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ 
การลงทุนของไทยในลาวตั้งแต่กันยายน 2553 ไทยเป็นนักลงทุนต่างชาติที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมเป็นอันดับ 3 ในลาว ช่วงปี 2543-2551 มี 207 โครงการ มูลค่าการลงทุน 1,581 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาการลงทุนสำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่ง โทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยว ธนาคาร นักลงทุนชาติอื่นที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย 

การลงทุน
การลงทุน รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาศักดิ์ และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน

การส่งออก

สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาวได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอแลนด์ และเยอรมันนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค

    ศาสนา

ประชากรลาวมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเหมือนกับประชาชนชาวไทยและถือปฏิบัติตามหลักคำสอนอย่างเคร่งครัดอีกร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ในช่วงที่เข้ามาปกครอง




ภาษา

ภาษาประจำชาติคือ ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทยในภาคอีสาน นอกจากนี้คนลาวบางคนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสได้ดี สำหรับประชาชนลาวทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูดและความหมายของคำบางคำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทย



แหล่งที่มา อ้างอิง

หนังสือ Trips Magazine ลาวเหนือ

หนังสือ Places&Prices



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น